No Widgets found in the Sidebar
เทคโนโลยี

‘ทรูควบดีแทค’ ฝ่ากระแส “ต้าน” ‘ดีลใหญ่ข้ามปี65’ – จับตาปี 66 จุดเปลี่ยน

เทคโนโลยี

ดีลที่เขย่าสมรภูมิธุรกิจ สร้างแรงกระเพื่อม ส่งผลกระทบอย่างมาก หนีไม่พ้น ดีลระดับแสนล้านบาท ระหว่าง “ทรู” และ “ดีแทค” ที่ประกาศเดินหน้าควบรวมกิจการไปเมื่อปลายปี 2564 สุดท้ายได้ “ไปต่อ” หลังบอร์ด กสทช. ใช้เวลากว่า 9 เดือนพิจารณาว่าจะ “อนุญาต” หรือ “ไม่อนุญาต” ให้เบอร์ 2 และเบอร์ 3 ในตลาดเดียวกันรวมบริษัทกันได้หรือไม่

ในที่สุดมติบอร์ด กสทช. สรุปว่า มีอำนาจแค่ “รับทราบ” การควบรวมดังกล่าว ทำให้ทรูและดีแทคสามารถควบรวมกิจการกันได้เลยโดยปริยาย

ย้อนไทม์ไลน์สู่เทคคัมพานี

วันที่ 22 พ.ย. 2564 เครือเจริญโภคภัณฑ์ (เครือซีพี) และกลุ่มเทเลนอร์ ประกาศการพิจารณาสร้างความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน (Equal Partnership) โดยการสนับสนุนให้บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ตั้งเป้าปรับโครงสร้างธุรกิจสู่การเป็น เทคคอมพานี รับยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีระดับภูมิภาค

แถลงการณ์ครั้งนั้น ระบุว่า การรวมกิจการดังกล่าว บริษัทมองว่าการดำเนินธุรกิจจากนี้ หรืออีก 20 ปีข้างหน้า จะต่างจากเดิมอย่างมาก จากเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น 5G, AI, IoT, Cloud และอวกาศ ขณะที่ บริษัทที่ตั้งใหม่ จะมีขนาดที่ใหญ่มาก คาดว่า จะมีรายได้ประมาณ 2.17 แสนล้านบาท และมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อม และค่าตัดจำหน่าย ราว 83,000 ล้านบาท

เสียงค้านระงมหวั่นผูกขาดยาว

พลันสิ้นสุดแถลงการณ์บอกเหตุผลถึงการควบรวม เสียงคัดค้านก็ดังขึ้นทันที เพราะหลายฝ่ายเชื่อว่าทรูที่มีสถานะเป็นผู้ให้บริการอันดับที่ 2 และดีแทคผู้ให้บริการอันดับที่ 3 จะทำให้มีลูกค้ารวมกันในทันทีเกินกว่า 50 ล้านราย และจะเหลือผู้เล่น 2 ราย ไม่เกิดการแข่งขัน เมื่อเหลือเพียงเอไอเอส และบริษัทใหม่หลังควบทรูดีแทค จะมีส่วนแบ่งตลาดไล่เลี่ยที่รายละ 50% ประชาชนโดนลอยแพ เพราะค่าบริการในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีเสียงเรียกร้องให้คณะกรรมการ (บอร์ด) กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แสดงท่าทีต่อการควบรวมในครั้งนี้

แนะนำข่าวเทคโนโลยี อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : ภูเก็ตลุยจัดงาน Thailand Travelution 2022 หนุนท่องเที่ยวสู่ Digital Transformation

By admin